ประกันชดเชยรายได้ เจ็บป่วย นอนรพ มีแบบไหนบ้าง ราคาเท่าไหร่
ประกันชดเชยรายได้ นอนโรงพยาบาล งานสะดุด แต่รายได้ต้องไม่สะดุดนะ มาดูวิธีการซื้อออนไลน์ และแบบประกันความคุ้มครองกัน
ประกันชดเชยรายได้ ทิพยชดเชยแคร์ คืออะไร
ประกันชดเชยรายได้ ทิพยชดเชยแคร์ คือประกันที่ให้ความคุ้มครองเมื่อผู้เอาประกันเข้ารับการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลจากการเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุ และคุ้มครองการเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตา หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง (อบ.1) จากอุบัติเหตุโดยไม่รวมการขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์
มีระยะเวลารอยคอยหรือไม่
มีระยะเวลารอคอย 30 หลังจากกรมธรรม์มีผลบังคับครั้งแรก สำหรับการเจ็บป่วยใด ๆ และมีระยะเวลารอคอย 120 วัน สำหรับโรคหรือการเจ็บป่วยดังต่อไปนี้ เนื้องอก ถุงน้ำดี หรือมะเร็งทุกชนิด ริดสีดวงทวาร ไส้เลื่อนทุกชนิด ต้อเนื้อ หรือต้อกระจก การตัดทอลซิลหรือออดีนอยด์ นิ่วทุกชนิด เส้นเลือดขอดที่ขา เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
หากพบว่าติดเชื้อ COVID-19 สามารถเรียกร้องสินไหมฯ ได้หรือไม่
สามารถเรียกร้องค่าสินไหมฯ ได้ ในกรณีที่ ผู้เอาประกันติดเชื้อ COVID-19 และเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลหรือ Hospitel ตามความจำเป็นทางการแพทย์ *
* อ้างอิงตามประกาศของกรมการแพทย์ เรื่องแนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย การดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล
มีโรคใดบ้างที่ไม่ได้รับความคุ้มครอง
โรคเรื้อรัง/การบาดเจ็บ/การเจ็บป่วย ที่เป็นมาก่อนการทำประกัน และยังรักษาไม่หาย ก่อนกรมธรรม์มีผลบังคับครั้งแรก
หากเป็นโรคเดิม สามารถเรียกร้องค่าสินไหมฯ ได้หรือไม่
สามารถเรียกร้องค่าสินไหมฯ ได้ในกรณีที่เข้ารักษาในโรงพยาบาล ห่างจากการรักษาครั้งแรก 90 วัน โดยนับจากวันที่ออกจาโรงพยาบาลครั้งสุดท้าย
ถ้าผู้เอาประกันภัย มีประกันสุขภาพอยู่แล้ว สามารถทำประกันชดเชยรายได้เพิ่มได้หรือไม่
สามารถทำประกันชดเชยรายได้เพิ่มได้
ประกันชดเชยรายได้ ทิพยชดเชยแคร์ สามารถทำมากกว่า 1 ฉบับได้หรือไม่
ไม่ได้ เนื่องจากผู้เอาประกันภัย 1 คนสามารถทำประกันชดเชยรายได้ ทิพยชดเชยแคร์ ได้สูงสุด 1 ฉบับ
เคลมประกันได้อย่างไร
การเตรียมเอกสารเพื่อประกอบการพิจารณาค่าสินไหมทดแทน
# กรณีเรียกร้องค่าสินไหมชดเชยรายได้ขณะเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลในฐานะผู้ป่วยใน
1. สำเนาใบเสร็จรับเงิน/งบสรุปค่ารักษาพยาบาล/ใบแจ้งหนี้ค่ารักษาพยาบาล
2. ใบรับรองแพทย์ที่ระบุวันที่นอนโรงพยาบาล อาการ บริเวณที่เป็นอย่างชัดเจน และสาเหตุการเกิด
3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการและสำเนาบัตรประกันภัย
4. สำเนาหน้าสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร (ออมทรัพย์/กระแสรายวัน) ของผู้เอาประกันภัย
5. แบบฟอร์มเรียกร้องค่าสินไหม ดาวน์โหลดเอกสารตัวอย่าง
สินไหมประกันภัยสุขภาพและอุบัติเหตุส่วนบุคคล : โทร. 02-239-2840 (ในเวลาทำการ 8.30 – 16.30 น.)
Claim_Health@dhipaya.co.th
ช่องทางการส่งเอกสารฉบับจริง
ฝ่ายสินไหมประกันภัยสุขภาพและอุบัติเหตุส่วนบุคคล ชั้น 15 เลขที่ 1115 ถนนพระราม 3
แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120